บทความ

พื้นที่สีแดง สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้

ด้วยข้อมูลจากภาครัฐที่ไม่มีความชัดเจน มองว่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูเหมือน มีบางอย่างคลุมทับอยู่ ภาพที่ออกมาก็มีแต่ภาพความรุนแรง และ ไม่มีใครลงมาทำงานในพื้นที่แห่งนี้ อย่างจริงจัง ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ประกอบกับ การที่สังคมเหมือนจะ “หันหลัง”
ให้กับสถานการณ์ ความรุนแรง และ เพิกเฉยต่อชะตากรรม ของผู้คนในพื้นที่
คนส่วนใหญ่หันหลังให้กับ ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือไม่รู้สึกเชื่อมโยง กับคนในพื้นที่นั้นแล้ว

มันทำให้ผู้มีอำนาจ ทำอะไรกับตรงนั้นก็ใด้ เพราะไม่มีใครสนใจ เมื่อเขาจะทำอะไรบางอย่าง หรือละเมิดใครบางคน ก็จะใช้ข้ออ้างว่า มันเป็นเรื่องของความมั่นคง พอเจอเรื่องความมั่นคงเข้าไป ทุกคนจะรู้สึกว่ามันจำเป็น เขาไม่ใด้สนใจแล้วว่าตรงนี้มีอะไรดี

เหตุผลพื้นฐานสุดๆ คือ เราต้องทำ ให้เขาอยู่ในพื้นที่สื่อ ที่จับตาดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับคนที่นี่ ใครเป็นคนทำ จับคนร้ายใด้จริงไหม เหมือนกับคดีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นแล้วอยู่หน้าสื่อ ซึ่งพอมันเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เราจะรู้แค่ว่าเกิดระเบิดขึ้นกี่จุด ใครตายบ้างตายกี่คน จับคนร้ายใด้ไหม จบ แล้วก็หายไป แต่เบื้องหลัง คุณจับคนร้ายตัวจริงรึเปล่า จับแพะรึเปล่า ถ้าเป็นที่อื่นตำรวจจับใด้เร็ว คือจับแพะ แต่พอเป็น 3 จังหวัดชายแดนใต้ เออตำรวจทำงานดี ฝ่ายความมั่นคงทำงานดี จับคนร้ายใด้แล้ว ไม่มีใครตั้งคำถามว่า คุณรู้ใด้อย่างไรว่าเป็นคนนี้จริง??

สิ่งที่สัมผัสใด้อีกคือภายใต้ชีวิตประจำวัน ที่ธรรมดา ไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆ ยังมีการกดทับ และ ความไม่เป็นธรรมที่คนในพื้นที่ ต้องประสบมาอย่างยาวนาน และ มีแนวโน้มที่จะคงอยู่ตลอดไป ตามสถานการณ์ความรุนแรง ที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง
มันมีเรื่องถูกคุกคาม หรือความรู้สึกไม่ปลอดภัย การถูกเยี่ยมเยียนโดยแขกที่ไม่ใด้รับเชิญ เราอาจจะรู้สึกว่า เดิมทีมันก็มีแค่ด่านตรวจ แล้วคุณไม่ใด้ทำอะไรผิด ก็ไม่ต้องกลัวอะไร แต่ในความเป็นจริง มันไม่ใด้มีแค่นั้น การล่วงละเมิดหรือการถูกคุกคาม มันเกิดขึ้นตลอดเวลา สถานการณ์ที่ไม่ธรรมดา ซึ่งถูกซุกซ่อนอยู่ ในชีวิตประจำวัน ของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะการจับกุมตัว และ การละเมิดเพื่อให้รับสารภาพ เมื่อมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ไม่ว่าคนเหล่านั้น จะเป็นผู้ก่อเหตุจริง หรือไม่ วิธีการใด้มาซึ่งข้อมูล ที่อาจละเมิดสิทธิมนุษย์ชน และ ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง


สิทธิมนุษยชนในพื้นที่สีเทา
สิทธิมนุษยชน ของคนในพื้นที่นี้ ควรใด้รับการเอาใจใส่ เช่นเดียวกับคนในพื้นที่อื่นๆ เพราะนั่นหมายถึง สิทธิมนุษยชนของคนทั้งประเทศ
สิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มันเป็นเรื่องพื้นฐาน ถ้าคุณรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน ให้กับ ชาวบ้านเหมืองทองเหมืองแร่ คนที่ถูกละเมิด การใช้ประโยชน์ที่ดินคนถูกจับ เพราะบุกรุกป่า คุณก็ต้องพูดถึง ความเท่าเทียมของคนใน 3 จังหวัด พูดถึงการถูกล่วงละเมิดในพื้นที่ 3 จังหวัด ใด้เหมือนกัน มันก็ควรจะให้พื้นที่เขาเท่าๆกัน ไม่ใช่ว่าพื้นที่นี้ ต้องมีความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่มันต้องพูดถึงบ้างเหมือนพื้นที่อื่นๆ ที่มีองค์กรณ์เข้าไปรองรับ มีสื่อมวลชนนำเสนอ ทุกมุม ที่หลากหลาย อยากให้มันเป็นมาตรฐานเดียวกัน มาตรฐานของคนทั้งประเทศ ใด้รับการดูแลหรือมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี กว่านี้แน่นอน

ขอบคุณบทความดีๆ จาก : Golam Abu Asfihanee Ahmmed